รีวิว Birdman: Or (The Unexpected Virtue of Ignorance) (2014) เบิร์ดแมน มายาดาว

รีวิว Birdman: Or (The Unexpected Virtue of Ignorance) (2014) เบิร์ดแมน  มายาดาว

birdman-poster

8 ห้วงความคิด หลังชม Birdman มีการเปิดเผยเนื้อเรื่องแน่นอนครับ และมันยาวมาก ดังนั้นผู้ไม่สันทัดอะไรยาวๆ อย่าอ่านเลยครับ

ทางเข้าดูหนังออนไลน์ฟรี 👉 Hopsmovie.com 👈 เว็บดูหนังฟรีที่มีหนังให้เลือกดูมากที่สุด

จริงๆ ก็อยากสั้นนะครับ แต่ดูเรื่องนี้แล้วมัน “ยาว”… อดใจไม่ได้จริงๆ 555

1) หนังมาพร้อมเทคนิคการถ่ายทำเท่ห์ สไตล์ Long Take แสดงกันแบบยิงยาวซึ่งเป็นการโชว์ความเจ๋ง ทั้งของดารา ผู้กำกับ และทีมงานทุกภาคส่วน ซึ่งสำหรับผมที่ชอบอะไรแบบนี้อยู่แล้ว ยอมรับเลยครับว่าถูกปากและเพลินตายิ่งนัก

2) เนื้อหาก็กัดวงการภาพยนตร์ได้อย่างน่าปรบมือ ตามด้วยการกระเทาะ (บางซีนก็กระแทก) วิถีชีวิตของคนเรา ที่บางครั้งก็พยายามไขว่คว้าความสำเร็จ ครั้นพอได้ความสำเร็จมาในมือ ตัวเราก็อาจสับสน (ไม่ว่าจะสับสนเพราะตนเองหรือคนอื่น) จนอดไม่ได้ที่ต้องเดินหาความสำเร็จรอบใหม่ มาเติมเต็มชีวิตตน

มองมุมนี้… ชีวิตคนก็คงเบาหวิวน่าดูนะครับ มันปลิวง่ายจริงๆ

การที่มันเบาหวิว จึงไม่แปลกที่คนเราต้องหาอะไรสักอย่างมายึดเหนี่ยวไว้ (ความสำเร็จเรื่องงาน, การสะสมเงิน, ตามหาความรัก, ค้นหานิยามชีวิต, เดินตามเป้าประสงค์หรือเจตจำนง)

บางคนก็เอาสิ่งเหล่านี้มายึดเหนี่ยวให้ชีวิตมีทิศทาง ให้มันนิ่งได้บ้าง แต่กับบางคนถึงขั้นเอามันมาทับ จนชีวิตขยับไปไหนไม่ได้ ครั้นพอทับไปสักพักก็ค่อยรู้สึกหนัก เลยอยากยกมันออก ก่อนจะเดินหาสิ่งอื่นที่มันน่าจะเข้าท่ากว่ามาทับชีวิต (เหมือนทับกระดาษไม่ให้ปลิว) ต่อไปเรื่อยๆ จนกว่าจะสิ้นลม

Birdman-2
3) ริกเกน (Michael Keaton) ตัวเอกของเรื่อง จริงๆ เขาประสบความสำเร็จมากมายกับการรับบทมนุษย์นก แต่เขาเลือกที่จะทิ้งหนังซูเปอร์ฮีโร่ขาย Effect ระดับบล็อกบัสเตอร์ แล้วหันเข้าหางานละครเวที ที่ซึ่งหลายคนใช้พิสูจน์คุณค่าในตนเอง (ประมาณว่าเล่นหนังฟอร์มใหญ่ คนก็ว่าเล่นแต่หนังตลาด เลยต้องพิสูจน์ตัวเองด้วยหนังอิสระหรือละครเวที)

ทว่าสิ่งที่ริกเกนต้องพบเจอกลับมีแต่ปัญหา ซึ่งปัญหาเรื่องการทำงานนั้นยังไม่เท่าไร แต่ปัญหาใหญ่สำหรับเขาคือการค้นพบว่า แม้เขาจะยอมสละเงินหลักล้านมาทำงานเน้นคุณภาพ มีเจตนาดี (แม้จะเจือด้วยการทำเพื่อตัวเอง) แต่โลกกลับไม่ได้ยอมรับเขามากขึ้น ไม่ได้รักเขามากขึ้น ไม่ได้เห็นค่าเขามากขึ้น

และที่แย่ที่สุดคือ ยิ่งเขาทำงานตรงนี้มากเท่าไร เขากลับรู้สึกเห็นตนเองด้อยค่าลงมากเท่านั้น

4) “เมื่อเรากำหนดชีวิตตัวเอง บางครั้งมันก็เป็นการกำหนดชีวิตคนอื่นด้วย”

ใน Birdman เราจะเห็นถึงโยงใยที่เกิดขึ้นระหว่างคน คนหนึ่งคนทำหนึ่งสิ่งก็จะทำให้เกิดผลกระทบต่อคนอื่นๆ หรือสิ่งอื่นๆ เสมอ ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม มันคือภาพในหนังที่สะท้อนภาพสังคมจริงของเรา

ทุกสิ่งที่สังคมเราเป็น มันก็คือผลพวงจากการกระทำของทุกคนนั่นแหละครับ

หรือถ้ามองให้แคบลงก็พูดได้ว่า เรามีผลต่อสังคมรอบตัว พอๆ กับสังคมรอบตัวมีผลต่อเรา เราต่างก็เป็นผลิตผลของปฏิสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน

… ว่าแต่สังคมรอบๆ ตัวเราในตอนนี้ คือผลผลิตที่เราอยากได้จริงๆ หรือเปล่า?

Birdman_2014-8

5) บางครั้งเราก็สับสนระหว่างความรักและการชื่นชม คิดว่าใครที่รักเราก็ต้องชมเราสิ ถ้าไม่ชมแสดงว่าไม่รักใช่้ไหม ทั้งที่จริงๆ แล้วคนเราก็มีทุกแบบน่ะครับ

+ บางคนรักเราแต่ไม่ชมเราเสียทั้งหมด (คืออะไรดีก็ว่าดี ถ้าไม่ดีก็ว่าไม่ดี เข้าข่ายจริงใจ แต่บางครั้งอาจลืมถนอมน้ำใจ)

+ บางคนรักเราแล้วชมอย่างเดียวก็มี (ประมาณว่าอวยไม่ลืมหูลืมตา หรือพ่อแม่รังแกฉัน)

+ บางคนไม่ได้รักเราหรอก แต่ก็ชมเปาะปากหวานไปตามมารยาท ซึ่งก็ไม่ได้แปลว่าเขาเป็นคนไม่ดีหรือไม่จริงใจ เพราะจริงๆ เขาอาจไม่ได้คิดอะไรเลย รู้แค่ว่า “พูดดีแล้วคนชอบ เลยพูดไป” เท่านั้น

ความรัก – การชื่นชม – ความหวังดี – การตำหนิ – ความจริงใจ – การเสแสร้ง บางสภาวะมันเกี่ยวกัน และบางสภาวะมันก็คนละเรื่องกัน… เราจะมองมันแบบไหน ก็อยู่ที่ “สภาวะ” และ “พื้นฐานตัวตน” ของแต่ละคน

6) ชอบเรื่องของไมค์ (Edward Norton)

ไม่รู้ทำไมถึงชอบนะครับ แต่ชอบตอนที่ไมค์บอกว่า ทุกนาทีที่เขาอยู่บนเวทีน่ะมันคือตัวตนของเขาจริงๆ (ทั้งที่ควรจะเป็นการแสดง) ในขณะที่เวลาอื่นๆ นอกเวที (ที่ควรเป็นตัวจริงของเขา) มันกลับเป็นการสวมบทบาทซะนี่

แอบคิดว่าแล้วเราล่ะเคยอยู่ในอารมณ์นั้นบ้างไหม

7) หนังเหมือนกัดโลกที่เต็มไปด้วยหนังซูเปอร์ฮีโร่ ซึ่งในโลกความจริงนั้นหนังซูเปอร์ฮีโร่ก็โดนกัดอยู่ว่าเห่อกันจริง สร้างกันจัง

อันนี้หากมองตามจริง การจิกกัดเหน็บแนมหนังกระแสนี่มีมานานมากๆ แล้วนะครับ ช่วง Star Wars ดังก็มีกระแสจิกหนังไซไฟ, ช่วง Scream ดังก็มีกระแสจิกหนังสยอง มันคือวัฒนธรรมปกติที่เกิดในวงการภาพยนตร์ นั่นคือมีการ “จิก” หนังดังๆ หนังกระแสๆ (อาจรวมถึง “จิก” คนที่ตามกระแส)

ในมุมหนึ่ง Birdman จิกกัดหนังซูเปอร์ฮีโร่ โดยให้พระเอกเป็นผู้กล้าก้าวเดินออกจากหนังฟอร์มยักษ์ แล้วหันมาทำหนังคุณภาพ

ประมาณว่าหนังทุนสูงน่ะมัน มีเงินก็ทำได้ แต่ถ้าอยากพิสูจน์คุณค่าตัวเองล่ะก็ มันต้องหนังทุนต่ำหรือละครเวทีต่างหาก

แต่หากมองอีกมุม ผมว่าหนังก็ย้อนกัดโลกของหนังคุณภาพหวังรางวัลหรือหนังอินดี้ทั้งหลาย ที่เอาเข้าจริงก็ใช่จะอยู่ได้ง่ายๆ แม้จะทำหนังคุณภาพหรือพยายามสร้างสรรค์ งานดีๆ ทุนไม่สูง แต่ก็ยังมีคนพร้อมจะกัด พร้อมจะเหน็บแนม พร้อมจะบอกว่า “คุณมันอินดี้ไม่แท้” “คุณยังไม่เข้าถึงมันหรอก” หรือ “คุณแค่พยายามชุบตัวด้วยหนังคุณภาพเท่านั้นแหละ”

“คุณภาพของหนังคุณภาพมันอยู่ที่ความตั้งใจของเรา หรืออยู่ที่การยอมรับของคนอื่น?”

“หนังทุนสูงตามกระแสในแต่ละยุคสมัย มันขี้ริ้วขี้เหร่ฉาบฉวยจริงๆ หรือ? มันไม่ได้มีคุณค่าน่าจดจำ หรือมันไม่ได้สะท้อน สิ่งที่น่าสนใจ (เช่น เสี้ยวหนึ่งของวิถีโลก) บ้างเลยหรือ?”

“การอยู่นอกกระแสหรือเชิดใส่กระแส… ถือเป็นกระแสชนิดหนึ่งหรือไม่? แล้วอย่างนั้นถือว่าตามกระแสหรือเปล่า?”

ย้ำหยอก ยั่วหยิก ย้อนแย้ง ยวนยี… นี่แหละพี่ Alejandro González Iñárritu (ผมนี่ถวายออสการ์ให้เลยครับ 5555)

Birdman
8) เป็นหนังอีกเรื่องที่กระทุ้งนักวิจารณ์ได้อย่างน่าคิด

ผมชอบนะครับ ชอบที่ริกเกนพูดว่า “นักวิจารณ์ลงทุนน้อยมาก” เรื่องนี้เถียงไม่ได้เลยครับ เราเขียนจากหมึก จากคอม จากหัว เราอาจเสียค่าตํ่วและค่าเดินทาง โดยที่เราวิจารณ์การลงทุนทั้งแรงกาย แรงใจ แรงเงิน และแรงสติปัญญาของคนอื่น ดังนั้นหากเทียบแล้ว เราลงทุนน้อยกว่าคนทำหนังจริงๆ

และบทวิจารณ์ของเรา เอาเข้าจริงก็คือมุมคิดของเราแต่เพียงผู้เดียว มันไม่ใช่ความจริงสากลสักหน่อย

อย่าว่าแต่นักวิจารณ์ในหนังเลยครับ ผมเองเมื่อก่อนก็เคยเป็น เรามองตัวเองในฐานะคนกำหนดคุณค่าหนัง (หรือ กำหนดความคิดของคนอ่าน) เราสนุกและเหลิงไปกับการที่มีคนเห็นด้วยกับเรา มากกว่าจะเป็นแค่คนดูแล้วมาเล่าว่าหนังเรื่องนี้ถูกใจเราหรือไม่

แต่ทุกวันนี้ผมคิดเสมอว่า นักวิจารณ์มีหน้าที่บอกว่าเราคิดอย่างไรกับหนัง (ชอบ-ไม่ชอบ โดน-ไม่โดน) หรือมองเห็นอะไรจากหนังบ้าง แต่ไม่จำเป็นต้องพยายามบอกให้คนอ่านรักหรือเกลียดหนังเรื่องนั้นๆ

คนเราจะชอบหรือเกลียดหนัง ก็เป็นเรื่องระหว่างคนๆ นั้นกับตัวหนังเองครับ

พูดง่ายๆ คือ ดูเองจึงรู้… แต่หากจะอ่านรีวิวประกอบการดูก็อย่าเพิ่งด่วนเชื่อ หรือหากเขารีวิวแล้วไม่ตรงกับที่เราคิด ก็ไม่ต้องคิดมาก มันคือธรรมดาครับ ต่างคนต่างมามองในมุมว่าเรากำลังจะได้แลกเปลี่ยนในมุมคิดที่ต่างกันดีกว่า

birdman-film-review

Birdman: Or (The Unexpected Virtue of Ignorance) เหมาะกับออสการ์หนังยอดเยี่ยมหรือไม่ ผมคงไม่ฟันธงครับ เพราะทุกคนมีออสการ์ประจำปีในใจอยู่แล้ว

แต่ถ้าถามว่าหนังเรื่องนี้ผมชอบไหม ผมฟันธงเลยว่าชอบ บอกได้เลยว่าโดนใจ ดูแล้วได้อะไรให้คิดต่อหลายประการ
คะแนนความชอบ 9/10 ครับ
รีวิวโดย ขุนหมื่นแสนสะท้าน

ทางเข้าดูการ์ตูนออนไลน์ฟรี 👉 AnimeHaku.com 👈 เว็บดูอนิเมะ มีการ์ตูนพากษ์ไทยเยอะที่สุด

Similar Videos

รีวิว Avengers Grimm (2015) สงครามเวทย์มนตร์ข้ามมิติ

2726 0

ผมว่าผมเคยเอาตัวอย่างของ Avengers Grimm มาลงครั้งหนึ่งนะครับ กับพล็อตที่ยำเอาตัวละครเจ้าหญิงในเทพนิยายมารวมทีมกัน แล้วก็พิทักษ์โลกแบบ The Avengers ทางเข้าดูหนังออนไลน์ฟรี 👉 Hopsmovie.com 👈 เว็บดูหนังฟรีที่มีหนังให้เลือกดูมากที่สุด ทางเข้าดูการ์ตูนออนไลน์ฟรี 👉 AnimeHaku.com 👈 เว็บดูอนิเมะ มีการ์ตูนพากษ์ไทยเยอะที่สุด

รีวิว Sing (2016) ร้องจริง เสียงจริง

1755 0

ทางเข้าดูหนังออนไลน์ฟรี 👉 Hopsmovie.com 👈 เว็บดูหนังฟรีที่มีหนังให้เลือกดูมากที่สุด การ์ตูนดูเพลินแนวหรรษาเสียงดนตรี เรื่องของบัสเตอร์ มูน (Matthew McConaughey) เจ้าของโรงละครผู้มีความฝันว่าจะสร้างสรรค์งานแสดงดีๆ ให้ผู้ชมได้ดูอย่างมีความสุข และอยากสร้างแรงบันดาลใจให้ทุกคนที่มีฝัน ได้กล้าที่จะตามฝันของตน ทางเข้าดูการ์ตูนออนไลน์ฟรี 👉 AnimeHaku.com 👈 เว็บดูอนิเมะ มีการ์ตูนพากษ์ไทยเยอะที่สุด

รีวิว Anything for Love (2016)

2593 0

ทางเข้าดูหนังออนไลน์ฟรี 👉 Hopsmovie.com 👈 เว็บดูหนังฟรีที่มีหนังให้เลือกดูมากที่สุด เรื่องนี้ชวนให้นึกถึงสูตรละครไทยเหมือนกันนะครับ เป็นหนังแนวรักโรแมนติกว่าด้วยหญิงสาวที่มีอนาคตในวงการอสังหาริมทรัพย์ นามว่าแคทเธอรีน (Erika Christensen) ที่เลขาของเธอเห็นว่าเจ้านายชีวิตดูจืดชืดไม่ค่อยมีสังคมกับเขา ก็เลยเอารูปแคทเธอรีนลงในเว็บหาคู่ แต่ใช้โปรไฟล์เป็นของเลขาแทน ทางเข้าดูการ์ตูนออนไลน์ฟรี 👉 AnimeHaku.com 👈 เว็บดูอนิเมะ มีการ์ตูนพากษ์ไทยเยอะที่สุด